Academic Resource and Information Technology Center
1. ด้านการบริการ การจัดหา การจัดเก็บ การจัดสรรและกระจายทรัพยากรสารสนเทศ มีการจัดหาทรัพยากรที่ทันสมัยและเพียงพอ มีการจัดเก็บทรัพยากรที่ทรงคุณค่า และมีการนำออกทรัพยากรที่ไม่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างถูกต้องและถูกวิธี รวมถึงการจัดสรรและกระจายทรัพยากรสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด เพื่อตอบสนองการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ของนักศึกษาและคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย
2. ด้านการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยและสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บริการสร้างและพัฒนาพื้นที่ภายในอาคาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเป็นแหล่งเรียนรู้ทันสมัยตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมถึงการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสามารถเสริมสร้างจินตนาการและแรงบันดาลใจ ให้กับนักศึกษาและผู้ใช้บริการ
3. ด้านการเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานระดับชาติ มีการจัดการอย่างยั่งยืน และเป็นศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนเพื่อให้สำนักฯ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานระดับชาติ มีการจัดการอย่างยั่งยืน เพื่อให้เป็นต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานระดับชาติ และเพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน จึงกำหนดเป้าหมายให้มีการเพิ่มพื้นที่ของอาคารเพื่อพัฒนาให้ได้ตามมาตรฐานสถานที่จัดงานประชุมแห่งประเทศไทย (TMVS) และการจัดการอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน TSEMS จึงต้องคงไว้ซึ่งคุณภาพตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว มาตรฐานสำนักงานสีเขียวระดับดีเยี่ยม รวมถึงการสร้างร่วมมือกับองค์กรที่รับผิดชอบดูแลในระดับชาติหน่วยงานด้านการศึกษา องค์กรภาครัฐและองค์กรภาคอกชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่ตรงตามเป้าหมายและความต้องการทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ
4. ด้านการถ่ายทอดข้อมูลสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการค้นหาและจัดเก็บสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัย เพื่อนำมาถ่ายทอดและสื่อถึงความสำคัญของที่ทรงคุณค่าของท้องถิ่น
5. ด้านการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพบรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานอื่น ทั้งหน่วยงานระดับภูมิภาคและหน่วยงานระดับชาติ เพื่อถ่ายทอดและต่อยอดองค์ความรู้ในส่วนของวิชาชีพบรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์ และเพื่อให้ตอบสนองนโยบายการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยให้บุคลากรวิชาชีพบรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์ เป็นหนึ่งในผู้ที่จะช่วยเหลือและขับเคลื่อนในการดำเนินการดังกล่าว
6. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมและต่อยอด การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ให้เป็นองค์กรต้นแบบในการทำงานและการบริการที่ดี โดยการนำแนวคิดการทำงานตามหลัก SMART Model มาดำเนินการในการกำหนดวิธีการทำงานของบุคลากรในสำนักฯ เพื่อให้มีการกำหนดเป้าหมายของการทำงานที่ชัดเจน (S) สามารถประเมินผลการทำงานได้และเป็นธรรม (M) สามารถระบุถึงวิธีการ แนวทางที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ (A) เหมาะสมและสมเหตุสมผลที่จะดำเนินการ (R) มีการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (T) และที่สำคัญคือต้องมีจิตบริการ (S) มีการให้รางวัลเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานดีเยี่ยม และมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ยังมีประสิทธิภาพการทำงานไม่สอดรับกับนโยบายของหน่วยงานรวมถึงการปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้ตรงทั้งศักยภาพของบุคลากรกรและเป้าหมายของหน่วยงาน
7. ด้านการบริหารหน่วยงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเน้นที่หลักธรรมาภิบาล 10 ข้อ ได้แก่ 1) หลักประสิทธิผล 2) หลักประสิทธิภาพ 3) หลักการตอบสนอง 4) หลักความรับผิดชอบ 5) หลักความโปร่งใส 6) หลักการมีส่วนร่วม 7) หลักการกระจายอ านาจ 8) หลักนิติธรรม 9) หลักความเสมอภาค และ 10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ เป็นหลักในการบริหารจัดการหน่วยงาน
1. พัฒนาสังคมพิบูลสงครามให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล มีการให้บริการที่เป็นระบบทันสมัย มีทรัพยากรที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ และเป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการพัฒนางานวิชาการ การพัฒนางานวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคมกับทุกหน่วยงาน
2. สร้างและพัฒนาพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกอาคารให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจ และความคิดสร้างสรรค์
3. เป็นองค์กรต้นแบบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานระดับชาติ สามารถตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัย และเป็นศูนย์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตในทุกช่วงวัย อย่างยั่งยืนบนฐานสังคมแห่งการเรียนรู้
4. เป็นแหล่งเรียนรู้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัย
5. เพิ่มจำนวนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานทั้งในระดับภูมิภาค และระดับชาติ เพื่อเป็นศูนย์เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาชีพบรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์
6. เป็นองค์กรที่บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล