ขนฟู หูตั้ง หางพวง ไทยบางแก้ว (Thai Bangkaew)

ความน่ารักของสุนัขบางแก้ว

 

@ อนุวัฒน์จัดให้ "สุนัขบางแก้ว"

 

ประวัติสายพันธุ์

มีผู้รู้หลายคนฟันธงตรงกันว่า หมาบางแก้วมีแหล่งกำหนดที่วัดบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนริมแม่น้ำยมในอดีตชาวบ้านอาจเลี้ยงไว้บ้านละตัวสองตัว แต่ถ้าเป็นสิบ ๆ ตัวต้องที่วัดบางแก้ว โดยหลวงพ่อมาก สุวัณณโชโต (เมธาวี) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้วรุ่นที่ 3 (ราว พ.ศ. 2405) มีเป็นฝูง และขึ้นชื่อเรื่องความดุที่คนละแวกนั้นทราบกันดี
ในสมัยโบราณคนจะเลี้ยงหมาดุไว้เฝ้าบ้าน เฝ้าทรัพย์สิน บริวาร หรือปศุสัตว์ที่เลี้ยงไว้กินไว้ขาย แต่ในความดุดันนั้นยังคงไว้ซึ่งความจงรักภักดีต่อผู้เป็นนาย เมื่อทราบกิตติศัพท์หมาดุแห่งวัดบางแก้ว ชาวบ้านได้มาขอลูกหมาจากวัดไปเลี้ยงต่อ ๆ กันไป สันนิษฐานกันว่าหมาบางแก้วมาจากการผสมข้าวพันธุ์ระหว่างสุนักพันธ์ไทยโบราณเพศเมียกับหมาจิ้งจอกและหมาไน เนื่องจากลักษณะเด่นที่หมาบางแก้วได้รับการถ่ายทอดจะมาจาก 3 สายพันธุ์นี้เป็นหลัก กล่าวคือ

หมาจิ้งจอก (Canis Auresus) มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด

หมาจิ้งจอกทองหรือหมาทอง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ออรีอัส (Canis Aureus) มีลักษณะคล้ายหมาป่าวูล์ฟ ขนาดเล็ก มีอยู่อย่างกระจัดกระจายตั้งแต่อัฟริกาใต้ไปจนถึงอัฟริกาเหนือ มีขนสีน้ำตาลปนเหลือง ส่วนหลังและหางจะแซมด้วยขนสีดำ
หมาจิ้งจอกหลังดำ (Black-backed) หรือหลังอาน
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส เมโวเมลาส์ (Canis Mesomlas) พบในอัฟริกาตอนกลาง อัฟริกาใต้ ที่หลังมีขนยาวสีดำปนขาวแผ่กระจายเต็มหลังไปจนถึงบริเวณหางคล้ายกับอานม้าและใบหูใหญ่
หมาจิ้งจอกข้างลาย
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส เอดัสตัส (Canis Adustus) หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้มีขนสีเทาและมีขนสีดำพาดเป็นทางด้านข้างของลำตัว ที่ปลายหางจะมีสีขาว พบในอัฟริกาเขตร้อน
หมาจิ้งจอกไซเมี่ยน แจ็คกัล (Simian Jackal)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ไซเมนซิส (Canis Simensis) พบในเขตที่ราบสูงเอธิโอเปีย มีรูปร่างและขนาดอยู่ระหว่างหมาจิ้งจอกฟ๊อกซ์ (Fox) และหมาป่าวูล์ฟ (Wolf) แต่ดูแล้วจะเหมือนหมาจิ้งจอกฟ๊อกซ์ (Fox) มากกว่า ลักษณะที่เด่น ๆ คือ หูตั้ง ใบหูใหญ่ ปลายหูแหลม ลำตัวค่อนข้างยาว ขนตามลำตัวสีแดง ส่วนขนที่ใต้คอสีขาว และมีแนวขนสีแดงแก่พาดรอบคอ ขายาว บนที่บริเวณปลายขาจะมีสีขาว หางเป็นพวง โคนหางขาวปลายโคนหางประมาณ 100 เซนติเมตร (40 นิ้ว) หรือ 1 เมตร หางยาว 30 เซนติเมตร (10 นิ้ว) น้ำหนัก 10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) ตามธรรมชาติจะชอบอยู่เป็นคู่หรืออยู่ลำพังตัวเดียว หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้นับว่าเป็นหมาที่มีขนาดใหญ่
แต่ชนิดที่มีอยู่ในแถบเอเชียและที่พบในประเทศไทยนั้นเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis Aureus Indicus (คานิส ออริอัส อินดิคัส) ขนของหมาจิ้งจอกจะมีสีน้ำตาลปนเทา มีลายกระดำกระด่างเปรอะ ๆ ไม่มีสีพื้นแดงสนิมเหมือนอย่างขนของหมาไน นอกจากนั้นแล้วยังมีขนยาวปกคลุมรอบคอเป็นแผงใหญ่ ขนในบริเวณนี้ปลายขนจะมี สีดำ ขนตามลำตัวจะมีลักษณะเป็นขนสองชั้น แผ่นชี้ปกคลุมตั้งแต่ท้ายทอยลงมาถึงกลางหลังเรื่อยลงไปจนถึงโคนหาง มีลักษณะคล้ายกับอานม้ามากกว่าขนที่กลางหลังของหมาไทยพันธ์หลังอานเสียอีก เพราะขนที่หลังของหมาหลังอานเป็นขนชนิดที่ย้อนกลับคล้าย ๆ กับขวัญ หางของหมาจิ้งจอกจะสั้นกว่าหางของ หมาไนและขนที่หางจะมีสีดำเพียง 1 ใน 3 ส่วนหมาไนนั้นขนที่หางจะมีสีดำ ความสูงประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 7-14 กิโลกรัม (15-31 ปอนด์) ความยาวของลำตัววัดจากหัวถึงโคนหางประมาณ 60-70 เซนติเมตร (24-30 นิ้ว) ความยาวของหางวัดจากโคนหางถึงปลายหางประมาณ 23-25 เซนติเมตร (9.2-14 นิ้ว) สำหรบขาขอหมาจิ้งจอกจะเล็กและยาวเรียวเวลาก้าวย่างเดินจะโหย่งเท้า
กะโหลกศีรษะอยู่ในจำนวนพวกสกุลคานิส ลักษณะของจมูกจะยาว แต่จมูกไม่ดำ ลำตัวกลมและแข็งแรง สันกลางต่ำ โค้งกว้างแตกต่างกับหมาไน ซึ่งมีจมูกสั้นและจมูกสีดำ หน้าผากของหมาจิ้งจอกค่อนข้างจะแบนเล็กน้อย หน้าแหลม หูตั้งป้องไปด้านหน้า
(http://animalpicturesarchive.com/view.php?tid=6&did=59195&lang=kr)
 

หมาไน (Asiam Wild Dog)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon Alpinus ชื่อเมือนหรือชื่อพ้องคือ Canis Javanicus หรือ Canis Rutiland) บางครั้งก็เรียกว่าหมาไนว่า "หมาแดง" (Red dog) มีลักษณะแตกต่างกว่าหมาจิ้งจอก คือ มีสีแดงสนิม (Rush red) ตลอดทั้งตัว ไม่มีแผงคอเหมือนหมาจิ้งจอก หางมีสีดำ ความยาวของหาง 40-50 เซนติเมตร (16-20 นิ้ว) ความยาวของลำตัววัดจากหัวถึงโคนหาง 88-113 เซนติเมตร (35-45 นิ้ว) น้ำหนักตัว 14-21 กิโลกรัม จึงมีลักตัวยาวเพรียวกว่าหมาจิ้งจอกและท้องไม่คอดกิ้วเช่นหมาไทยพื้นบ้าน

หมาไนตัวใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก มีสีเดียวกันตลอดทั้งตัว (มากกว่าหมาจิ้งจอก) หางยาวและสีเข้มกว่า จมูกเข้มกว่า และสั้นกว่า ภายในหูมีขนขาวละเอียดอ่อนปกคลุม ปลายหูกลมมน ไม่แหลมเหมือนหมาจิ้งจอก มีขนตามลำตัวสีแดงสนิม ขนยาวกว่าหมาจิ้งจอก ขนที่แผงคอไม่มี (หมาจิ้งจอกมี) เท้าและขนที่หางมีสีดำ ลูกที่เกิดใหม่จะมีสีดำคล้ำ เมื่อโตขึ้นสีจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงสนิม
กะโหลกศีรษะคล้ายกับของหมาจิ้งจอก แต่ใหญ่กว่า จมูกกว้างและส่วนหน้าแบนกว่า เบ้าตาต่ำกว่า รูปร่างฐานเบ้าตาสั้นกว่าและทื่อค่อนไปทางข้างหน้า ลักษณะฟันไม่เหมือนกัน ไม่มีกรามที่สามด้านล่าง กรามล่างอันแรกมีเพียงเขี้ยวเดียว (แต่ในหมาจิ้งจอกมี 2 เขี้ยว) ปากอมสีน้ำตาลเข้มหรืออาจมีสีขาวปน หางเป็นพวกห้อยลงดิน ส่วนมากจะหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ร่มหรือโพรงดินตื้น ๆ เห่าเสียงธรรมดาถี่ ๆ แต่เมื่อตกใจจะร้องเสียงแหลม หมาไนสามารถกระโดดได้ไกล 3-3.5 เมตร เวลาวิ่งกระโดดไกล 5-6 เมตร และสูง 3-3.5 เมตร เวลาล่าเหยื่อที่เป็นสัตว์ใหญ่กว่าจะรวมตัวกันเป็นฝูง 6-8 ตัว จนถึง 20 ตัว หาเหยื่อได้โดยการดมกลิ่น และสะกดรอยไปจนเห็นเหยื่อ จากนั้นจะไล่เหยื่อไปจนเหนื่อยอ่อนและจนมุม

หมาไทยพื้นบ้าน
ขนตามลำตัวสั้นเกรียน ละเอียดเป็นเงา หูตั้ง ปลายหูแหลม แข้งขาเล็กเรียวคล้ายขาเก้ง อุ้งเท้าเล็ก ลำตัวค่อนข้างยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หางมีหลายรูปแบบคือหางกระรอก หางงอม้วนเป็นก้นหอยหรือขนมกง